ระบบหัวพ่นหมอกในโรงเรือนเพาะเห็ด

%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%9e%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%81

ในอดีตเห็ดที่รับประทานกันทั่วไปนั้น จะเป็นเห็ดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเฉพาะช่วงฤดูกาลเท่านั้น  แต่เมื่อมีผู้นิยมบริโภคกันมากขึ้น  จึงทำให้เกิดการพัฒนาไปสู่การเพาะเห็ดในเชิงการค้า เห็ดที่เพาะในเชิงการค้ามีหลายชนิด  อาทิเช่น เห็ดฟาง  เห็ดนางรม  เห็ดนางฟ้า  เห็ดยานางิ  เห็ดหูหนู   และเห็ดหอม เป็นต้น  เห็ดสกุลนางรมหรือเห็ดนางรมเป็นเห็ดที่นิยมของตลาด และมีการเพาะกันทั่วไปเกือบทั้งประเทศ  เห็ดนางรมเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิระหว่าง 24 – 33 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 70 – 80 เปอร์เซ็นต์

สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งของการเพราะเห็ดในโรงเรือนก็คือ อากาศและความชื้น ซึ่งจะมีระบบหัวพ่นหมอกช่วยปรับอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์กับภายในโรงเรือน ในส่วนของโรงเรือนก็ควรว่างระบบดังนี้

  1. เปิดจั่วด้านหน้าและด้านหลังโรงเรือนเพื่อให้ความร้อนใต้หลังคาระบายออกมา พร้อมกับมุงซาแรนใต้คานเพื่อป้องกันความร้อนจากใต้หลังคาแผ่ลงมา และป้องกันความชื้นออกจากโรงเรือน
  2. ด้านข้างของโรงเรือนมุง 3 ชั้นด้วยซาแรน 50% พลาสติกหนา 150 ไมครอนและซาแรน 50% อีกชั้นหนึ่งทำให้เก็บความชื้นในโรงเรือนได้ดีขึ้น
  3. ติดตั้งระบบควบคุมอัตโนมัติ ได้แก่ ระบบหัวพ่นหมอกภายในโรงเรือน เพื่อลดอุณหภูมิและความชื้น

จะเห็นได้ว่าโรงเรือนเพาะเห็ดจึงต้องเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิ ความชื้น  อากาศและแสง อย่างไรก็ตาม   เห็ดแต่ละชนิดมีความต้องการปัจจัยเหล่านี้แตกต่างกัน โดยเฉพาะเห็ดหอมและเห็ดนางรมหรือเห็ดสกุลนางรมต้องการอุณหภูมิที่แตกต่างกันมาก เห็ดหอมต้องการอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง เห็ดสกุลนางรมต้องการอุณหภูมิสูงมากกว่าเห็ดหอม  ส่วนเห็ดฟางชอบอุณหภูมิสูงแต่ในช่วงที่ออกดอกต้องการอุณหภูมิต่ำ